Skip to content

หัวใจ อ่อนแอได้ทุกช่วงวัย เจอโรคร้ายแรงได้ไม่ต่างกัน

หัวใจ อะไหล่ชิ้นสำคัญของร่างกายที่เสื่อมถอยไปตามอายุ เมื่อทำงานไม่ปกติ ก็จะส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา ซึ่งแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ และหลอดเลือด ถึงเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คนเลยทีเดียว ทำให้ โรคหัวใจ มักถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม ประกันโรคร้ายแรง ที่หากเจอก็จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อรักษา แต่หลายคนกลับไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า และจากไปกระทันหัน อย่างที่มักจะได้ยินข่าวคนเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันอยู่บ่อยๆ

หัวใจ วัยเยาว์

ในวัยเด็กโรคที่ส่งผลรุนแรงกับหัวใจ ได้แก่ ไข้รูมาติก พบในเด็กอายุ 5-15 ปี เมื่อติดเชื้อจะส่งผลต่อการติดเชื้อในหัวใจ จนลิ้นหัวใจพิการเรียกว่า โรคหัวใจรูมาติกเป็นโรคที่พบเจอได้ง่าย รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต ถึงแม้ว่าจะรักษาหายไปแล้วก็ยังคงต้องติดตามอาการ และพบแพทย์เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นใหม่ อีกโรคที่มีความรุนแรง คือ “โรคคาวาซากิ” แม้ว่าอาการของโรคจะสงบไปได้เอง แต่มีภาวะแทรกซ้อนสำคัญที่หัวใจ และหลอดเลือดที่หัวใจ ซึ่งอาจโป่งพอง อุดตัน ทำให้หัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงได้ อันตรายถึงชีวิต

เตรียมพร้อมรับมือ:

  • ดูแลเรื่องสุขอนามัยในโรงเรียน ให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผัก ผลไม้

  • หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่ทำให้เกิดความแออัด เพื่อลดโอกาสแพร่เชื้อ

  • มี ประกันโรคร้ายแรง 48 บียอนด์ ครอบคลุม โรคไข้รูมาติกที่มีภาวะของความผิดปกติของหัวใจร่วมด้วย และ โรคคาวาซากิและมีภาวะแทรกซ้อนของหัวใจ คุ้มครองตั้งแต่อายุ 1 เดือน 1 วัน ตรวจพบรับเงินก้อนทันที

หัวใจ วัยทำงาน

เตรียมพร้อมรับมือ:

  • ปรับพฤติกรรมการกินให้เหมาะสมกับจำนวนพลังงานที่ร่างกายต้องใช้ต่อวัน ลดอาหารคอลเรสเตอรอลสูง

  • ออกกำลังกาย และทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหว ประมาณ 30 นาที/วัน และ 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ เพื่อพัฒนาความแข็งแรงของระบบการทำงานหัวใจ

  • มี ประกันโรคร้ายแรง 48 บียอนด์ ครอบคลุมกลุ่มโรค และอาการที่ส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดกว่า 21 รายการ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

หัวใจ ชาวสูงวัย

ผู้สูงวัย มาพร้อมกับความเสื่อมถอยของร่างกาย โดยเฉพาะความเสื่อมของหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ที่เกิดจากไขมัน และเนื้อเยื่อสะสมในผนังของหลอดเลือดหนาตัวขึ้น หลอดเลือดมีการตีบแคบลง ทำให้เลือดซึ่งนำออกซิเจนไหลผ่านได้น้อยลง เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ จนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือความเสื่อมตามธรรมชาติ อย่าง โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ มีหินปูนจับที่ลิ้นหัวใจจนลิ้นหัวใจหนาขึ้นและเปิดได้น้อยลง เป็นต้น

เตรียมพร้อมรับมือ:

  • ดูผลตรวจสุขภาพเพื่อเป็นแนวทางการปรับอาหาร เช่น ผู้เป็นเบาหวานต้องคุมน้ำตาล คุมแป้ง ผู้มีไขมันสูงต้องคุมปริมาณการรับประทานอาหารที่มีไขมัน หรือคอเรสเตอรอล

  • ทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวบ้างเท่าที่ทำได้ เช่น เดิน ทำสวน รดน้ำต้นไม้ ทำงานบ้านเบาๆ (ในกรณีที่ออกกำลังกายไม่ไหว)

  • มี ประกันโรคร้ายแรง 48 บียอนด์ สามารถเคลมได้หลายครั้ง ขึ้นอยู่กับกลุ่มโรค/อาการ ของโรค

ไม่ว่าจะเด็กน้อยหัวใจกระเตาะ กลางคนหัวใจว้าวุ่นเอาแต่ทำงาน หรือสูงวัยหัวใจเตรียมเกษียณ ทุกคนก็เสี่ยงไม่แพ้กัน จะรู้ตัวก่อน หรือจากไปอย่างกระทันหัน ควรเตรียมพร้อมด้วย ประกันโรคร้ายแรง 48 บียอนด์ (CI48 Beyound) ที่ครอบคลุมกลุ่มโรค และอาการที่ส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดกว่า 21 รายการ บียอนด์มากกว่าด้วยความคุ้มครองกลุ่มโรคร้ายแรงได้มากถึง 75 โรค/อาการ (จากเดิมแค่ 48 โรค) แถมยังไม่ต้องมีประกันสุขภาพอื่นมาก่อนก็ทำได้ เมื่อตรวจพบรับเงินก้อนไว้รักษา หรือจะมอบให้คนที่เรารักยามเราจากแบบไม่ต้องห่วง

แต่หากใครมองว่าอยากได้ความคุ้มครองแบบเหมาๆ รักษากันไปยาวๆ  ประกันสุขภาพ ปลดล็อค ดับเบิล แคร์ ก็เป็น อีกตัวเลือกนึงที่ตอบโจทย์ วงเงินคุ้มครองสูงถึง 15 ล้านบาทต่อปี ถึงอายุ 90 ปี ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลกรณีรักษาใน ICU แถมมีค่าฉีดวัคซีน และค่าตรวจสุขภาพประจำปีให้ด้วย

ข้อมูลบางส่วนจาก:

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมการแพทย์
รศ. นพ.ทศพล ลิ้มพิจารณ์กิจ สาขาวิชาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
อ.นพ.ตุล ชัยกิจมงคล อายุรแพทย์โรคหัวใจ ประจำศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

062-1632653 คุณยีนส์